ร่ายอักษรา





ช่วงนี้เป็นเทศกาลหลังออกพรรษาจะมีการทอดกฐิน
 และเทศน์มหาชาติ
ห้องสมุดจึงมาเล่าเรื่องการทอดกฐิน  และเทศน์มหาชาติ
                              ให้ได้ทราบกันคะ

ประวัติการทอดผ้ากฐิน
       ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีซึ่งเป็นพระอาราม
ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูปชาวเมืองปาฐาในแคว้นโกศล
เดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา
 จึงแวะจำพรรษา ณ เมืองสาเกตห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์ (16 กม.เท่ากับ 1โยชน์)
ภิกษุทั้ง 30 รูปนั้นล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์ และมีศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้
เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้วก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีแม้เป็น
ช่วงที่ฝนตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไปแต่ก็ไม่ย่อท้อ ทำให้ผ้าจีวรเครื่องนุ่งห่มเปียกชุ่มผุเปื่อย
 เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูปได้เข้าเฝ้าสมความตั้งใจแล้ว พระพุทธองค์ทรงทราบถึงความลำบาก
 จึงทรงอนุญาตให้รับผ้าที่ชาวบ้านถวายเพื่อพลัดเปลี่ยนได้เป็นครั้งแรก  
           คำว่า"กฐิน"แปลว่า กรอบไม้ หรือสดึง สำหรับขึงผ้าเพื่อสะดวกในการที่จะตัดเย็บจีวร 
ในสมัยพุทธกาลภิกษุจะตัดเย็บจีวรเอง

การเทศน์มหาชาติ
         ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงเดินทางไปกรุงกบิลพัสด์ เพื่อไปโปรด
เหล่าศากยะวงศ์และพระเจ้าสุทโทธนะพระราชบิดา ซึ่งก็มีเหล่าบรรดา
พระประยูรญาติที่อาวุโสกว่าไม่มีความศรัทธาต่อพระองค์เนื่องจากวัยที่อ่อนกว่า
พระพุทธองค์จึงได้แสดงพุทธานุภาพ เพื่อลดทิฐิมานะพระประยูรญาติ
ด้วยการเหาะขึ้นไปเดินจงกรมในอากาศ และได้ปรากฏเหล่าละอองธุลีพระบาท
ได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าของเหล่าพระประยูรญาติทั้งมวลซึ่งทำให้ทิฐิมานะ
ทั้งหลายได้คลี่คลาย และยอกรประณตอภิวาทต่อพระบรมศาสดาโดยดี
         หลังจากนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จลงสู่พุทธอาสน์ และขณะนั้นพลันก็เกิด
ฝนมหัศจรรย์ตกลงมาในบริเวณที่ประชุมกันอยู่ โดยฝนที่ตกลงมานั้นเรียกว่า
ฝนโบกขรพรรษ  ซึ่งมีสีแดงเรื่อดั่งทับทิมผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกายก็จะเปียก
 และถ้าไม่ปราถนาจะให้เปียกก็จะเป็นดั่งน้ำค้างบนใบบัว ไม่เปียกกายแต่อย่างใด
 และในบริเวณนั้นจะไม่มีน้ำฝนขังแต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างความพิศวงให้
กับเหล่าภิกษุที่เป็นสาวกของพระพุทธองค์ จึงได้ทูลถามขึ้น พระองค์จึงได้ทรงตรัสว่า
 ฝนโบกขรพรรษนี้เคยตกมาก่อนเมื่อครั้งที่เราได้เสวยชาติเป็นพระเวสสันดร 
แล้วพระพุทธองค์จึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดของพระเวสสันดร
ซึ่งทั้งหมดก็คือที่มาของ การเทศน์มหาชาติ  นั่นเอง

        
เทศน์มหาชาติมีทั้งหมด 13 กัณฑ์
1.กัณฑ์ทศพร  2.กัณฑ์หิมพาน  3.กัณฑ์ทานกัณฑ์  4.กัณฑ์วนประเวศน์ 
5.กัณฑ์ชูชก    6.กัณฑ์จุลพน    7.กัณฑ์มหาพน      8.กัณฑ์กุมาร    
9.กัณฑ์มัทรี    10.กัณฑ์สักบรรพ   11.กัณฑ์มหาราช  12.กัณฑ์ฉกษัตริย์   
13.กัณฑ์นครกัณฑ์

               ถ้าฟังเทศน์ครบ  13  กัณฑ์ จะได้ขึ้นสวรรค์นะค่ะ